วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย

1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ  คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ  1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
         2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 
         3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
         4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
         5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ    1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
       2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

       3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

       4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?

ตอบ  1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
- กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายไทยฉบับต่างๆที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามอยู่ในปัจจุบัน
- กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศที่เห็นพ้องต้องกัน เช่น สนธิสัญญา หรืออนุสัญญา เป็นต้น หรือความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นต้น
2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเ้อกชน และกฎหมายมหาชน
- กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน หรือประชาชนทั่วไปด้วยกัน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคล เป็นต้น
- กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจหน้าที่ หรือภารกิจของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชน
3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายสวัสดิการสังคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
- กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดหน้าที่ของนายจ้างในการจัดให้มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น
- กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล และขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้น เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่น กฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายโรงงาน มีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางปกครอง เป็นต้น

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ  1. รัฐธรรมนูญ   (พ่อ)
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ  (ลูก)
3. พระราชกฤษฎีกา  (หลาน)
4. กฎกระทรวง  (เหลน)
5. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติอบต.  ข้อบัญญัติอบจ.  ข้อบัญญัติกทม.  และข้อบัญญัติเมืองพัทยา  (ลื้อ)

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  ซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ
ในเชิงความคิด ซีวิลลอว์เป็นกลุ่มของแนวคิดและระบบกฎหมายซึ่งได้รับมาจากประมวลกฎหมายจัสติเนียน รวมไปถึงกฎหมายของชนเผ่าเยอรมัน สงฆ์ ระบบศักดินา และจารีตประเพณีภายในท้องถิ่นเอง รวมไปถึงความคิดเช่น กฎหมายธรรมชาติ แนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมาย และกลุ่มปฏิฐานนิยม (กลุ่มที่ยึดถือกฎหมายที่บัญญัิติไว้เป็นหลัก)
ระบบกฎหมายซีวิลลอว์อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
  1. ซีวิลลอว์ที่ยังใช้กฎหมายโรมันและไม่มีแนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่ง ได้แก่ อันดอรา และซานมาริโน
  2. ซีวิลลอว์ที่เป็นระบบผสม กฎหมายโรมันเป็นบ่อเกิดกฎหมายที่สำคัญ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ด้วย ได้แก่ สกอตแลนด์ และประเทศที่ใช้กฎหมายโรมัน-ดัตช์ (แอฟริกาใต้ แซมเบีย ซิมบับเว ศรีลังกา และกียานา)
  3. ซีวิลลอว์ที่ใช้ประมวลกฎหมายเป็นหลัก เช่น ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว "ซีวิลลอว์" จะหมายถึงระบบกฎหมายซีวิลลอว์ประเภทนี้ และในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงซีวิลลอว์ประเภทนี้เป็นหลัก
  4. ซีวิลลอว์ประเภทสแกนดิเนเวียน โดยมีพื้นฐานมาจากกฎหมายโรมันและกฎหมายจารีต รวมไปถึงการจัดทำประมวลกฎหมายบางส่วน กฎหมายของรัฐหลุยเซียน่าและควิเบกอาจถือได้ว่าใช้ระบบผสม 


7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?

ตอบ   ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้นมีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเดิมก่อนศตวรรษที่ 11ประเทศอังกฤษยังไม่เป็นปึกแผ่นโดยแบ่งการปกครองเป็นตามแคว้นหรือเผ่าของตนเอง มีระบบกฎหมายและระบบศาลตามเผ่าของตนเองไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 10-15 พระเจ้าวิลเลี่ยม ดยุคแห่งแคว้นนอร์มังดีของฝรั่งเศสได้ยกกองทัพเข้ายึดครองเกาะอังกฤษหลังจากการสู้รบกันระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยผลัดกันยกกองทัพไปรบ การรบครั้งแรกก็ไม่ได้ชัยชนะ
ต่อมาก็บุกเข้าไปยึดครองอังกฤษได้ เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในอังกฤษยอมสวามิภักดิ์และยอมอยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้าวิลเลี่ยมหรือดยุคแห่งนอร์มังดี นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมและปกครองเกาะอังกฤษให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้การนำของดยุคแห่งนอร์มังดี อังกฤษจึงเป็นปึกแผ่นครั้งแรกตามประวัติศาสตร์
         ลักษณะเฉพาะของระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ คือ
  • คำพิพากษาเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ศาลต้องผูกพันพิพากษาคดีตามแนวคำพิพากษาที่ได้มีมาแต่เดิม ตามหลัก ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน
  • คำพิพากษาของศาลมีความสำคัญมากกว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นเพียงข้อยกเว้นของกฎหมายคอมมอนลอว์ ในกรณีที่ไม่มีคำพิพากษามาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
  • การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากการศึกษาคำพิพากษาของศาลที่มีมาแต่เดิมเป็นหลัก
  • มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ
  • ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) นี้ บางตำราเรียกว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ   ระบบกฎหมายมี 4 ระบบ คือ
         1. ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิด (กฎหมายลายลักษณ์อักษร) *ใช้มากที่สุด
         2. ระบบกฎหมายคอมนอน ลอว์ (ต้นตำหรับ) *ใช้ในอังกฤษ
         3. ระบบกฎหมายสังคมนิยม *ใช้ในคอมมิวนิสต์
         4. ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม *ใช้ในอิสลาม
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?

ตอบ   civil law

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?

ตอบ  องค์ประกอบของรัฐมี 4 แบบคือ
         1.ประชากร หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติ 
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
     1)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่ แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
     2)ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
     3)คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ

2. ดินแดน มีข้อสังเกตดังนี้คือ
     1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
      2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐแต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย

     3.รัฐบาล คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบ ทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ

4.อำนาจอธิปไตย เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย   

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย


1.กฎหมาย คือ
ตอบ     กฎหมาย      คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
2.  ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?ตอบ     ลักษณะสำคัญของกฎหมาย      1.  กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์                  รัฐาธิปัตย์ หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ    เช่น  ผู้นำสูงสุด  หรือหัวหน้าคณะปฎิวัติในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ   พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช        ส่วนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ตรากฎหมายโดยความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา
     2.  กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้ทั่วไป                 กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค  หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้
      3. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป                      กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว  ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก
      4. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตาม                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว  บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม       5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ                       เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายนั้น ๆ กำหนดไว้  เช่นการเสียสิทธิ   การชดใช้สินไหมทดแทน หรือการถูกลงโทษทางอาญา เช่น ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  และสูงสุดคือประหารชีวิต3.  กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?ตอบ     ช่วยให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เนื่องจากมีแนวปฏิบัติที่เหมือนกันหมด มีข้อยุติความขัดแย้ง ที่ชัดเจน ช่วยยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้
4.   การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?ตอบ      1 กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ตามความหนักเบาของการกระทำ2. กฎหมายตามแบบพิธี หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นมาโดดยวิธีบัญญัติกฎหมายของรัฐ จะไม่มีการกำหนดความประพฤติของมนุษย์หรือประชาชนทั่วไปโดยตรง แต่ถือเป็นกฎหมายอย่างหนึ่งที่วางหลักเกณฑ์ในการบริหารงานของรัฐปัจจุบันรัฐยุคใหม่มีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในทางกำหนดความประพฤติของสมาชิกในสังคม และเพื่อจัดองค์กรต่างๆของรัฐ และในกฎหมายฉบับเดียวกันยังเป็นทั้งกฎหมายตามเนื้อความและกฎหมายตามแบบพิธีอีกด้วยดังนั้นหากกล่าวโดยรวมแล้ว กฎหมายคือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติโดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อความสงบเรียบร้อย หรือพัฒนาสังคม เป็นต้น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษกฎหมายแบ่งแยกได้หลายประเภทตามเกณฑ์ต่างๆเพื่อประโยชน์ในการใช้1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอกกฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายไทยฉบับต่างๆที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามอยู่ในปัจจุบันกฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศที่เห็นพ้องต้องกัน เช่น สนธิสัญญา หรืออนุสัญญา เป็นต้น หรือความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นต้น2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน หรือประชาชนทั่วไปด้วยกัน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคล เป็นต้นกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจหน้าที่ หรือภารกิจของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชน3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายสวัสดิการสังคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติกฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดหน้าที่ของนายจ้างในการจัดให้มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้นกฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล และขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้น เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่น กฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายโรงงาน มีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางปกครอง เป็นต้น
5.  ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ      1. รัฐธรรมนูญ   (พ่อ)2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ  (ลูก)3. พระราชกฤษฎีกา  (หลาน)4. กฎกระทรวง  (เหลน)5. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติอบต.  ข้อบัญญัติอบจ.  ข้อบัญญัติกทม.  และข้อบัญญัติเมืองพัทยา  (ลื้อ)6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ ซีวิลลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "ประมวลกฎหมาย" ผู้เขียนไม่อยากให้เรียกว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร เพราะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายในระบบใดก็ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น จึงควรใช้คำให้ถูกต้องว่า "ระบบประมวลกฎหมาย"ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายมีหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศษ อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เป็นต้น
7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?ตอบ คอมมอนลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "จารีตประเพณี" ที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน มิใช่ใช้กันตามความรู้สึกแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเอาคำพิพากษาในคดีที่ศาลตัดสินแล้วมาเป็นกฎหมาย ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบนี้ เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา เป็นต้น
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?ตอบ ระบบกฎหมายกฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้นระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?ตอบ      ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร  
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?ตอบ องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ         1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากร       ของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น        2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ        3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก        4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2012



      
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2012
Flag of the United States
ค.ศ. 2008 ←6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012→ ค.ศ. 2016

 Defense.gov photo essay 120528-D-BW835-540(2).jpgMitt Romney speaking close up cropped.jpg
ผู้แทนพรรคบารัก โอบามามิตต์ รอมนีย์
พรรคพรรคเดโมแครตพรรครีพับลิกัน
Home stateรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์
Running mateโจ ไบเดนพอล ไรอัน
Electoral vote303*206*
States carried25 + ดี.ซี.24
คะแนนนิยม60,291,272[1]57,523,518[1]
ร้อยละ50.3%[1]48.1%[1]

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012         เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งถัดไป มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 การเลือกตั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริงในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน บารัก โอบามา ลงสมัครเป็นสมัยที่สองและสมัยสุดท้ายระหว่างการเลือกตั้งนี้
ตามที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2012 นี้จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่หนึ่งในสาม (33 คน) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีขึ้นทุกสองปี) เพื่อเลือกสมาชิกสภาคองเกรสที่ 113 การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและอีกหลายการเลือกตั้งรัฐสภาของรัฐจะยังเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งนี้ให้ได้ 270 เสียง จึงจะเป็นผู้ชนะ
เมื่อเวลา 11.15 น. ตามเวลาในประเทศไทย บารัก โอบามา ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้อย่างไม่เป็นทางการ ไปด้วย 275 เสียง ส่วนมิตต์ รอมนีย์ ได้รับ 203 เสียงในขณะนี้ (17.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) โอบามาได้ 303 เสียง ส่วนรอมนีย์ได้ 206 เสียง 



ElectoralCollege2012.svg